: วิธีการใช้ไมค์คาราโอเกะ GMM Z STAR
: วิธีตั้งค่ารีโมทแอร์เมาส์ GMM Z STREAM มี 2 วิธี ดังนี้

การตั้งค่าแบบรีเซ็ทค่าโรงงาน

  1. ถอด USB ออกจากกล่อง
  2. ถอดถ่านออกจากรีโมททั้ง 2 ก้อน
  3. ใส่ถ่านรีโมทเข้าไปใหม่
  4. เสียบ USB เข้าไปใหม่
  5. กดปุ่ม OK และปุ่ม BACK    พร้อมกันค้างไว้จนไฟกะพริบแล้วปล่อยมือ
  6. เมื่อไฟหยุดกะพริบรีโมทแอร์เมาส์จะกลับมาใช้งานได้ตามปกติ

ตั้งค่าศูนย์ของลูกศรแอร์เมาส์ให้นิ่ง ไม่เลื่อนเอง

  1. ถอดถ่านออกจากรีโมท 1 ก้อน
  2. ระหว่างที่ใส่ถ่านกลับเข้าไป ให้กดปุ่ม OK ค้างไว้จนไฟกระพริบ
  3. วางรีโมทให้ตรงกับโทรทัศน์ โดยไม่ขยับตัวรีโมท เพื่อให้รีโมททำการตั้งศูนย์
  4. เมื่อไฟหยุดกะพริบรีโมทแอร์เมาส์จะกลับมาใช้งานได้ตามปกติ
: อุปกรณ์ที่ได้รับภายในกล่องที่ซื้อมามีอะไรบ้าง

ภายในกล่องบรรจุภัณฑ์จะมีอุปกรณ์ คือ กล่องรับสัญญาณดาวเทียม, รีโมทคอนโทรล, สายสัญญาณภาพ-เสียง แบบ AV สำหรับกล่อง Smart และ Mini และมีสาย HDMI ให้สำหรับกล่อง HD, HD Lite แบตเตอรี่ ขนาด AAA จำนวน 2  ก้อน,ใบรับประกันสินค้า และคู่มือการใช้งานกล่อง

: การรับประกันตัวกล่องรับสัญญาณกี่ปี

ทางบริษัทฯ ทำการรับประกันกล่องรับสัญญาณ GMM Z เป็นเวลา 1 ปี โดยหากสินค้าอยู่ภายใต้เงื่อนไขการรับประกัน ทางบริษัทฯ จะทำการตรวจสอบสินค้า ซึ่งหากพบว่าอยู่ในระยะเวลาประกันและอยู่ในเงื่อนไข ทางบริษัทจะทำการเปลี่ยนสินค้ากล่องใหม่ แล้วส่งกลับไปให้ท่านในระยะเวลาประมาณ 15 วัน นับจากวันที่ทางบริษัทฯ ได้รับสินค้า

: หากกล่องรับสัญญาณมีปัญหาสามารถส่ง (ซ่อม/เคลม) ได้ที่ไหน

เมื่อต้องการเคลมสินค้ากรุณาส่งสินค้าพร้อมใบประกันไปที่ ศูนย์กระจายสินค้าเทพารักษ์ เลขที่ 998 หมู่ 21 ต.บางพลีใหญ่ อ.บางพลี จ.สมุทรปราการ 10540 หรือ ที่ร้านค้าตัวแทนจำหน่าย

: หากรีโมทชำรุด, เสีย มีรับประกันหรือไม่

 ทางบริษัทฯ มีการรับประกันการใช้งานเฉพาะเครื่องรับสัญญาณเท่านั้น ในกรณีความเสียหายที่เกิดกับรีโมทคอนโทรล จะไม่ได้ครอบคลุมอยู่ในการรับประกันด้วย ซึ่งหากรีโมทคอนโทรลของท่านไม่สามารถใช้งานได้ ท่านสามารถหาซื้อได้ที่ร้านตัวแทนจำหน่ายทีวีดาวเทียมใกล้บ้านท่าน 

: หากต้องการซื้อกล่อง GMM Z มารับชมร่วมกับกล่องรับสัญญาณดาวเทียมยี่ห้ออื่น สามารถทำได้หรือไม่

สามารถทำได้ ซึ่งสามารถแบ่งได้ออกเป็น 2 กรณีดังนี้

กรณีที่2 : หากต้องการรับชมมากกว่า 2 กล่อง  ท่านต้องเปลี่ยนหัวรับสัญญาณ LNB เป็นแบบ 2 ขั้ว (TWINS LNB) จากนั้นต่อเข้ากับ “Multi Switch” ก่อนแยกแต่ละสายเข้าแต่ละกล่อง

กรณีที่2 : หากต้องการรับชมมากกว่า 2 กล่อง  ท่านต้องเปลี่ยนหัวรับสัญญาณ LNB เป็นแบบ 2 ขั้ว (TWINS LNB) จากนั้นต่อเข้ากับ “Multi Switch” ก่อนแยกแต่ละสายเข้าแต่ละกล่อง

: ทำไมช่องรายการต่างประเทศในบริการเติมช่อง Z PAY TV จึงสงวนสิทธิ์ในการเปลี่ยนแปลงรายการที่อยู่ภายในช่องต่างๆ โดยไม่แจ้งให้ทราบล่วงหน้า

 เนื่องจาก GMM Z ได้รับสิทธิ์ในการ “เผยแพร่” ช่องบันเทิงต่างประเทศที่ซื้อมาจากบริษัทเจ้าของลิขสิทธิ์ “เท่านั้น” โดยสิทธิ์ใน การบริหารจัดการ คัดเลือกรายการ รวมถึงการเปลี่ยนแปลงรายการที่อยู่ภายในช่องต่างๆ ยังคงเป็นของบริษัท  เจ้าของลิขสิทธิ์ ซึ่งถ้ามีการเปลี่ยนแปลงใดๆ เกิดขึ้น ทางบริษัทจะพยายามเต็มที่ในการแจ้งข้อมูลที่เปลี่ยนแปลงนั้นให้เร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้

: ในกรณีที่เป็นลูกค้าบริการเติมช่อง Z PAY TV เวลาเกิดปัญหาการรับชมและต้องเสียค่าใช้จ่ายในการแก้ไข ทำไม ลูกค้าจึงต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายเองทุกครั้ง ทั้งๆ ที่ลูกค้าก็จ่ายค่าบริการรายเดือนไปแล้ว

 เนื่องจาก Z PAY TV เป็นบริการเติมช่อง เพื่อตอบสนองลูกค้าที่ต้องการรับชมช่องบันเทิงที่หลากหลายจากต่างประเทศ นอกเหนือจากช่องที่ดูฟรีได้ในกล่อง GMM Z ดังนั้นค่าใช้จ่ายที่ทางบริษัทฯ เรียกเก็บ จึงเป็นเพียงค่าใช้จ่ายในการบริหาร  จัดการช่องบันเทิงจากต่างประเทศที่เพิ่มเติมเข้ามาเท่านั้น มิได้รวมค่าบำรุงรักษา ค่าติดตั้ง ค่าช่าง หรือค่าบริการอื่นๆ เอาไว้ด้วย ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ค่าบริการ Z PAY TV อยู่ในราคาที่เหมาะสม และคุ้มค่าในการใช้บริการ ซึ่งแตกต่างจากกล่อง รับสัญญาณดาวเทียมบางยี่ห้อ ที่ให้บริการในระบบสมาชิกรายเดือน ที่รวมค่าใช้จ่ายอื่นๆ ที่เกิดขึ้นหลังการขาย อาทิ ค่าเช่ากล่อง, ค่าช่าง, ค่าบำรุงรักษา ไว้เรียบร้อยแล้ว 

     นอกจากนั้นกล่อง GMM Z ยังเป็นกล่องรับสัญญาณดาวเทียมระบบเปิด โดยในแต่ละเดือนลูกค้าสามารถเลือกได้ว่าจะใช้บริการเติมช่อง Z PAY TV หรือไม่ก็ได้ หากเดือนไหนลูกค้าไม่ต้องการใช้บริการ Z PAY TV ลูกค้าก็ยังคงสามารถรับชม   ช่องทีวีดาวเทียมต่างๆ ที่อยู่ในกล่อง GMM Z ได้ตามปกติ ซึ่งแตกต่างจากกล่องรับสัญญาณดาวเทียมบางยี่ห้อ ที่ให้บริการในระบบสมาชิกรายเดือน ซึ่งหากลูกค้ามีความประสงค์ยกเลิกการใช้บริการ บริษัทที่ให้บริการจะยึดกล่องรับสัญญาณ  กลับคืนทันที ทำให้ลูกค้าไม่สามารถรับชมช่องทีวีดาวเทียมต่างๆ ได้ 

 

: ทำไมทุกครั้งที่เกิดปัญหาการรับชมและต้องเรียกช่างติดตั้งจานดาวเทียมเพื่อทำการแก้ไข ลูกค้าจึงต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นเองทุกครั้ง

 เนื่องจาก GMM Z เป็นกล่องรับสัญญาณดาวเทียมที่ให้บริการลูกค้าในลักษณะขายขาด เมื่อลูกค้าท่านใดซื้อกล่อง GMM Z ไปแล้ว กรรมสิทธิ์ในกล่อง GMM Z จะตกเป็นของลูกค้าท่านนั้นทันที ลูกค้าสามารถรับชมช่องบันเทิงที่อยู่ภายในกล่องได้แบบไม่มีข้อผูกมัดใดๆ ทั้งสิ้น โดยการติดตั้งจานดาวเทียมและกล่องรับสัญญาณ ลูกค้าจะต้องเป็นผู้ดำเนินการติดต่อช่างติดตั้งจานดาวเทียมด้วยตัวเอง ซึ่งทางบริษัทฯ ไม่สามารถตรวจสอบมาตรฐานการติดตั้งได้ ดังนั้นหากเกิดปัญหาการรับชมหลังการขาย ลูกค้าจึงต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายนั้นเอง

ซึ่งแตกต่างจากกล่องรับสัญญาณดาวเทียมบางยี่ห้อ ที่ให้บริการในระบบสมาชิกรายเดือน  กล่องรับสัญญาณที่ติดตั้งให้ท่านนั้นจะเป็นในลักษณะให้เช่า โดยมีช่างส่วนกลางของบริษัทนั้นๆ ทำหน้าที่ติดตั้งและดูแลหลังการขายให้ โดยสมาชิก   จะต้องจ่ายค่าบริการเป็นประจำทุกเดือนภายใต้ระยะเวลาที่ทำสัญญา ซึ่งค่าใช้จ่ายในแต่ละเดือนนั้น ได้รวมค่าบริการหลังการขายต่างๆ อาทิ ค่าเช่ากล่อง, ค่าช่าง, ค่าบำรุงรักษา ไว้เรียบร้อยแล้ว 

: กรณีกล่องรับสัญญาณ GMM Z ทำการอัพเดทข้อมูลช่องรายการ (OTA) นานผิดปกติ และทำการ OTA 2 ครั้งซ้อน เกิดจากสาเหตุอะไร

 เนื่องจากไทยคมได้ดำเนินการทางเทคนิคดาวเทียมในการส่งและจัดสรรช่องสัญญาณดาวเทียม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการแพร่ภาพทีวีผ่านดาวเทียม ส่งผลให้ GMM Z ซึ่งเป็นกล่องรับสัญญาณดาวเทียมจากดาวเทียมไทยคม ต้องปรับเปลี่ยนความถี่ในการอัพเดทช่องรายการ (OTA) ซึ่งปัญหาการ OTA นานผิดปกตินั้น เกิดจาก Software ในกล่องรับสัญญาณยังไม่ได้อัพเดทเป็นเวอร์ชั่นล่าสุด ซึ่งได้แก่             

กล่อง GMM Z รุ่น MINI และรุ่น SMART   ที่มี Software Version ต่ำกว่า 102

กล่อง GMM Z รุ่น HD  ที่มี Software Version ต่ำกว่า 1.03 ด้วยเหตุนี้จึงทำให้เกิดการ OTA 2 ครั้ง ซึ่งแจกแจงรายละเอียดได้ดังนี้

การ OTA ครั้งที่ 1 : กล่องรับสัญญาณจะทำการ Update Software เพื่อเปลี่ยนให้เป็น Solfware Version ล่าสุด

การ OTA รอบที่ 2 : เมื่อกล่องรับสัญญาณได้ Update Software เป็นเวอร์ชั่นล่าสุดแล้ว กล่องรับสัญญาณ จะทำการอ่านข้อมูล ช่องรายการ (OTA) ที่ความถี่ใหม่ และทำการ OTA อีกครั้ง

: หากอาศัยอยู่ที่อพาร์ทเม้นท์หรือคอนโด แล้วบนตึกมีจานดาวเทียมติดตั้งอยู่ จะสามารถติดกล่อง GMM Z ได้หรือไม่

 ปกติแล้วการติดตั้งกล่องรับสัญญาณไม่ว่าจะเป็นยี่ห้อใดก็ตามจะต้องมีการต่อสายจากจานดาวเทียมเข้าสู่กล่องรับสัญญาณ ซึ่งท่านต้องประสานงานกับผู้เป็นเจ้าของจานดาวเทียมของอพาร์ทเม้นท์ หรือคอนโดนั้นๆ  เพื่อขออนุญาตในการต่อสายสัญญาณเข้าสู่จุดรับชมในห้องของท่าน ซึ่งหากจานดาวเทียมบนตึกนั้น รับสัญญาณจากดาวเทียมไทยคม 5 อยู่แล้ว ท่านก็สามารถใช้กล่อง GMM Z รับชมความบันเทิงได้เลย

: หากต้องการติดตั้งกล่อง GMM Z เข้ากับจานดาวเทียมชุดเดิมที่มีอยู่ สามารถทำได้หรือไม่ อย่างไร

 ปัญหานี้แบ่งออกเป็น 2 กรณี ตามกล่องรับสัญญาณเดิมที่เคยใช้ ดังนี้

กรณีที่ 1 : กล่องเดิมที่ท่านใช้เป็นยี่ห้อ IPM  แนะนำให้ท่านปรึกษาช่างติดตั้งจานดาวเทียม เพื่อทำการปรับหน้าจาน เนื่องจาก IPM รับสัญญาณจากดาวเทียม NSS6 ในขณะที่ GMM Z รับสัญญาณจากดาวเทียมไทยคม 5 (และไทยคม 6 ในอนาคต) ซึ่งตำแหน่งของดาวเทียมทั้ง 2 ดวงอยู่คนละที่ หน้าจานจึงต้องหันไปในทิศทางองศาที่แตกต่างกัน การติดตั้งกล่อง GMM Z โดยไม่ปรับหน้าจาน จึงไม่สามารถรับชมช่องต่างๆ ได้

กรณีที่ 2 : กล่องเดิมที่ใช้เป็นกล่องรับสัญญาณยี่ห้ออื่นๆ ที่รับสัญญาณจากดาวเทียมไทยคม 5 เช่นกัน  ในเบื้องต้นให้ท่านตรวจสอบคุณภาพสัญญาณว่าเป็นอย่างไร โดยกดไปที่ช่อง FANOKE หมายเลข20 หากภาพไม่กระตุก แสดงว่าท่านสามารถรับชมช่องรายการต่างๆ ได้ตามปกติ แต่ถ้าหากภาพกระตุกหรือไม่สามารถรับชมช่องดังกล่าว ได้เลย แนะนำให้ท่านกดปุ่ม info ที่รีโมทคอนโทรล แล้วดูแถบคุณภาพสัญญาณที่ขึ้นบนหน้าจอ ถ้าแถบคุณภาพสัญญาณนั้นเป็นสีส้มหรือสีแดง แนะนำให้ท่านปรึกษาช่างติดตั้งจานดาวเทียม เพื่อทำการปรับหน้าจานใหม่ ซึ่งแถบคุณภาพสัญญาณใหม่หลังจากการปรับหน้าจาน ต้องมีค่ามากกว่า 60% หรือเป็นแถบสีเขียว

: หากหน้าจอขึ้น “E52” หรือ “ไม่มีสัญญาณ” จะแก้ไขอย่างไร

สาเหตุที่ 1  : กล่องรับสัญญาณเลือกระบบใช้งานไม่ถูกต้อง

ท่านสามารถแก้ไขปัญหาเบื้องต้นได้ ด้วยการกดรีโมทไปที่หมายเลข 9988 เพื่อค้นหาหัวรับสัญญาณ (LNB) ใหม่อัตโนมัติ หากยังรับชมไม่ได้ (ยังคงขึ้น E52 หรือ ไม่มีสัญญาณ) แนะนำให้ท่านปรึกษาช่างติดตั้งจานดาวเทียม เพื่อทำการตรวจสอบสาเหตุของปัญหา และแก้ไขตามปัญหาที่เกิดขึ้น

สาเหตุที่ 2  : อุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับการเชื่อมต่อชำรุดหรือเสียหาย เช่น ขั้วสัญญาณชำรุด, สายสัญญาณขาด, หน้าจานเคลื่อน, มีบางสิ่งบางอย่างมาบังหน้าจาน, กล่องเสีย เป็นต้น 

แนะนำให้ท่านปรึกษาช่างติดตั้งจานดาวเทียม เพื่อทำการตรวจสอบสาเหตุของปัญหา และแก้ไขตามปัญหาที่เกิดขึ้น

: กรณีเกิดพายุฝนหรือลมแรง จะสามารถรับชมกล่อง GMM Z ได้ตามปกติหรือไม่

 สามารถแบ่งได้ 2 กรณีตามประเภทจานดาวเทียมที่ติดตั้ง ดังนี้

กรณีที่ 1 : ติดตั้ง จาน KU BAND  ในส่วนของจานดาวเทียมประเภท KU BAND นั้น ขณะที่สภาพอากาศมีความชื้นสูง เช่น ในกรณีที่ฝนตกและมีลมแรง อาจมีผลกระทบต่อระบบรับสัญญาณของจาน KU BAND ซึ่งมีผลให้บางครั้งไม่สามารถรับชมช่องรายการต่างๆ ได้ในขณะที่มีฝนตก และจะสามารถรับชมช่องรายการต่างๆ ได้ตามปกติอีกครั้งเมื่อสภาพอากาศกลับเป็นปกติ 

กรณีที่ 2 : ติดตั้ง จาน C BAND  ขณะฝนตก ท่านจะสามารถรับชมกล่อง GMM Z ได้ตามปกติ

: ทำไมกล่องรับสัญญาณดาวเทียมอื่นๆ จึงยังสามารถรับชมช่องฟรีทีวีได้ตามปกติ โดยไม่จำเป็นต้องปรับหัวรับสัญญาณ LNB หรือหน้าจานแต่อย่างใด

 กล่องรับสัญญาณดาวเทียมที่ใช้จานดาวเทียมในระบบ C BAND จะไม่ได้รับผลกระทบในการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ รวมถึงกล่อง GMM Z ด้วย หากท่านมีปัญหาในการรับชม ในกรณีที่กล่องรับสัญญาณเลือกระบบใช้งานไม่ถูกต้อง ท่านสามารถแก้ไขเบื้องต้นได้ง่ายๆ เพียงกดรีโมทไปที่หมายเลข 9988 เพื่อค้นหาหัวรับสัญญาณ (LNB) ใหม่อัตโนมัติ สำหรับกล่องรับสัญญาณดาวเทียมที่ใช้จานดาวเทียมในระบบ KU BAND หากได้รับการติดตั้งที่มีมาตรฐาน และมีการปรับจานดาวเทียมไปในทิศทางที่เหมาะสม ก็จะสามารถรับชมความบันเทิงผ่านกล่อง GMM Z ได้โดยไม่จำเป็นต้องปรับหัวรับสัญญาณ LNB หรือหน้าจานแต่อย่างใด

: การปรับหัวรับสัญญาณ (LNB) และการปรับจานตามคำแนะนำของ GMM Z จะมีผลทำให้กล่องรับสัญญาณดาวเทียมอื่นๆ ไม่สามารถใช้งานได้ จริงหรือไม่

 การปรับหัว LNB และการปรับจานตามคำแนะนำของ GMM Z จะยังทำให้ท่านสามารถรับชมช่องรายการโดยกล่องรับสัญญาณดาวเทียมอื่นๆ ได้ตามปกติ เพราะคำแนะนำดังกล่าว จะทำให้หัวรับสัญญาณ (LNB) ของท่านสามารถรับสัญญาณได้ทั้งสองแกน ทั้งแนวตั้ง (Vertical) และแนวนอน (Horizontal) และทำให้หน้าจานของท่านหันรับสัญญาณได้อย่างถูกต้องและมีคุณภาพสัญญาณที่ดีขึ้น

: ทำไมทาง GMM Z จึงเปลี่ยนแปลงความถี่ในการออกอากาศช่องฟรีทีวี (3, 5, 7, 9 หรือ NBT) ซึ่งทำให้เกิดปัญหาในการรับชมในกลุ่มผู้ใช้จานรับสัญญาณในระบบ KU BAND

 การเปลี่ยนแปลงความถี่ ในการออกอากาศช่องฟรีทีวี (3, 5, 7, 9 หรือ NBT) รวมทั้งการเปลี่ยนแกนการส่งสัญญาณในการออกอากาศในระบบ KU BAND นั้น GMM Z ไม่มีอำนาจใดๆ ในการเปลี่ยนแปลง แต่เกิดจากการบริหารจัดการความถี่ของสถานีดาวเทียมไทยคม เพื่อลดความแออัดของความถี่ และเตรียมพร้อมไว้สำหรับดาวเทียม “ไทยคม 6” ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต

: หากช่องฟรีทีวี (3, 5, 7, 9 หรือ NBT) ซึ่งรับชมผ่านกล่องรับสัญญาณดาวเทียม GMM Z เกิดปัญหา

การแก้ไขปัญหา “จอดำ” สามารถแบ่งออกเป็น 2 กรณี ดังนี้

กรณีที่ 1 : เกิดปัญหาจอดำ ขณะรับชมรายการทั่วไปที่มิได้ทำการเข้ารหัสสัญญาณไว้ ในเบื้องต้นท่านสามารถแก้ปัญหา ได้ด้วยตัวเอง เพียงกดรีโมทไปที่หมายเลข 9988 เพื่อค้นหาหัวรับสัญญาณ (LNB) ใหม่อัตโนมัติ หากท่านยังไม่สามารถรับชมได้ แนะนำให้ท่านตรวจสอบและแก้ไขปัญหาเบื้องต้นตาม LINK นี้  https://www.youtube.com/watch?v=LE-uQB6eNug

กรณีที่2 : เกิดปัญหาจอดำ ขณะรับชมรายการที่มีลิขสิทธิ์และทำการเข้ารหัสสัญญาณไว้  หากท่านต้องการรับชมรายการที่มีลิขสิทธิ์ดังกล่าวผ่านกล่อง GMM Z ท่านสามารถรับชมได้ทางช่องพิเศษหมายเลข 306 ถึง 309 ซึ่งเป็นช่องที่จัดเตรียมไว้เฉพาะกิจกรณีเกิดปัญหา “จอดำ” เท่านั้น หากเป็นรายการปกติหรือรายการลิขสิทธิ์ที่มิได้ทำการเข้ารหัสสัญญาณไว้ สามารถรับชมได้ทางช่องปกติ